Harddisk (ฮาร์ดดิส) คืออะไร เรามาทำความรู้จักและวิธีการเลือกซื้อกัน


Harddisk (ฮาร์ดดิส) คือตัวบรรจุข้อมูล(date) ของคอมพิวเตอร์นั้นเองครับ มีไว้สำหรับเก็บข้อมูลทั้งหลาย ได้แก่ ไฟล์เอกสาร ไฟล์งาน รูปภาพ เพลง โปรแกรม เกม และอื่นๆอีกมากมาย

สำหรับคนที่กำลังจะประกอบคอมหรือซื้อฮาร์ดดิสตัวใหม่มาเพื่อเพิ่มความจุให้กับคอมที่บ้าน สาเหตุส่วนมากมาจากตัวเก่าเต็มหรือกำลังจะเต็มนั้นเอง ไม่ก็อาจเสียจึงจำเป็นต้องซื้อตัวใหม่ มาดูกันครับว่าเราจะมาเลือกซื้อกันอย่างไร แต่ก่อนอื่นหมีคอมจะมาอธิบายส่วนต่างๆของฮาร์ดดิสให้เข้าใจกันแบบง่ายๆกันก่อนครับ

harddisk

ความจุของ Harddisk

Harddisk (ฮาร์ดดิส) มีความจุให้เลือกมากมายหลายแบบ มีตั้งแต่ความจุ 500 GB ไปจนถึง 10 TB ค่าการวัดของขนาดความจุ Byte, KB, MB, GB และ TB คือตัววัดขนาดของความจุของฮาร์ดดิสครับ คล้ายๆกับน้ำหนัก กรัม กิโลกรัม ตัน เป็นต้นครับ เรามาดูกันครับว่ามีหลักการดูและการเลือกขนาดความจุเท่าไหร่จึงเหมาะกับการใช้งานของเรากันครับ

สิ่งที่ระบบ windows ใช้ สิ่งที่ผู้ผลิต storage ใช้
1024 Byte = 1 KB (Kilobyte) 1000 Byte = 1 KB (Kilobyte)
1024 KB = 1 MB (Megabyte) 1000 KB = 1 MB (Megabyte)
1024 MB = 1 GB (Gigabyte) 1000 MB = 1 GB (Gigabyte)
1024 GB = 1 TB (Terabyte) 1000 GB = 1 TB (Terabyte)

แล้ว ทำไม ผู้ผลิต storage ถึงใช้ค่าไม่เท่ากับ ระบบ Windows ละ? เราอาจต้องย้อนกลับไปอดีตสักเล็กน้อยครับ

เรื่องมันมีอยู่ว่า ตั้งแต่ยุค IBM ครองโลก IT ของ IBM ใช้เลขฐาน 10 ในการนับความจุ เช่น 1 MB = 1000 KB เป็นต้น เพื่อความง่ายต่อการเข้าใจ และใช้แบบนี้เรื่อยมา จนทำให้บริษัททำ Storage อื่นๆ ก็เห็นพ้องกันว่าใช้แบบนี้ดีแล้ว นับง่ายดี

ต่อมาไมโครซอฟท์บอกว่า เค้าเปลี่ยนวิธีการนับเป็น 1 MB = 1024 KB จึงทำให้เวลาวินโดวส์มองความจุฮาร์ดดิส จึงเห็นตามที่มันถูกโปรแกรมไว้ว่า 1 MB = 1024 KB ทั้งๆ ที่บริษัทผู้ผลิตที่ความจุ 1000 KB ก็ทำให้วินโดวส์จะเห็นความจุของฮาร์ดดิส ขนาด 1 MB เป็น 0.9765625 MB แบบนี้เป็นต้นครับ ฉะนั้นเวลาเราซื้อ Hardisk, flash drice หรือ SD card พอเราเช็คความจุ มันจึงเห็นไม่เต็มตามค่าที่ผู้ขายบอกนั้นเองครับ สรุปแล้วความจุไม่ได้หายไปไหนครับ แค่ใช้ค่าการอ่านไม่เหมือนกัน O_o

  • ปัจจัยขนาดข้อมูลที่เราต้องการเก็บ 

ยกตัวอย่าง เป็นคนชอบดูหนัง ชอบสะสมหนังที่ดูแล้วไว้ดูซ้ำในอนาคต ก็อาจจำเป็นต้องใช้ความจุที่เยอะหน่อย

สมมุติผมให้หนังหนึ่งเรือง มี ขนาดเท่ากับ 5 GB (ค่าประมาณ) อยากเก็บได้สัก 200 เรื่อง แสดงว่า เราต้องการความจุฮาร์ดดิส ประมาณ 1000 GB (1 TB) เท่านี้เราก็สามารถเลือกขนาดได้แล้ว หรือถ้าอยากเพื่ออนาคต ก็อาจซื้อไว้เป็น 2000 GB (2 TB) ไว้ได้เช่นกันครับ

 

ความเร็วรอบ (rmp) ในการอ่านและเขียนข้อมูล

  • ความเร็วรอบ (rmp)

หรือ Revision per minute เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ฮาร์ดดิสก์ทำงานได้เร็วขึ้นหรือไม ขึ้นอยู่กับความเร็วในการหมุนเลยครับ ไม่ว่าจะเป็นการอ่านข้อมูล(Read) หรือเข้าถึงข้อมูล(White) ซึ่งในปัจจุบันมีความเร็ว 5400 rpm และ 7200 rpm

สำหรับความเร็ว 5400 rmp จะช่วยประหยัดพลังงานจึงเหมาะกับการใช้งานทั่วไปใน notebook ส่วนคนที่ต้องการความเร็วในแบบ 7200 rpm นั้นแม้จะไม่ได้เร็วขึ้นในการใช้งานทั่วไป แต่ถ้าใช้สำหรับงานหรือการเล่นเกมที่ต้องใช้งานไฟล์ขนาดใหญ่หรือมีปริมาณการถ่ายโอนข้อมูลที่มาก ก็จะค่อนข้างเห็นผมชัดเจนครับ

ปัจจุบันฮาร์ดดิส ขนาด 3.5 นิ้วที่ใช้ในเครื่อง Desktop ปัจจุบันความเร็วจะอยู่ที่ 7200 rmp และในขนาด 2.5 นิ้ว ที่อยู่มนเครื่อง Notebook ส่วนมากในตลาดจะอยู่ที่ 5400 rmp และ 7200 rmp ในบ้างรุ่นครับ

 

บัฟเฟอร์หรือแคช

  • บัฟเฟอร์ (Buffer) หรือ แคช (Crash)

ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของฮาร์ดดิสก์ คือการใช้หน่วยความจำแคช(Cash) หรือบัฟเฟอร์(Buffer) เพื่อเป็นที่พักข้อมูลก่อนที่จะส่งไปยังคอนโทรลเลอร์บนการ์ดหรือเมนบอร์ดครับ

บัฟเฟอร์หรือแคชที่ว่านี้จะทำงานร่วมกับฮาร์ดดิสก์ โดยในกรณีการอ่านข้อมูล ก็จะอ่านข้อมูลจากฮาร์ดดิสก์ ในส่วนที่คาดว่าจะถูกใช้งานต่อไปมาเก็บไว้ล่วงหน้า ส่วนในกรณีบันทึกข้อมูล ก็จะรับข้อมูลมาก่อนเพื่อเตรียมที่จะเขียนลงไปทันทีที่ฮาร์ดดิสก์ว่างแต่ทั้งหมดนี้จะทำอยู่ภายในตัวฮาร์ดดิสก์เอง โดยไม่เกี่ยวข้องกับซีพียูหรือแรมแต่อย่างใด

พูดง่ายๆคือหน่วยความจำแคช หรือ บัฟเฟอร์ เป็นที่สำหรับพักข้อมูล ที่จะใช้ทั้งการรับเเละการส่ง เพื่อไม่ให้ข้อมูลนั้นขาดตอนหรือมีการสะดุดเวลารับหรือส่งไฟล์

ปัจจุบัน บัฟเฟอร์จะมีขนาดให้เลือกซื้ออยู่ที่ 32-128 MB ฉะนั้นยิ่ง Buffer เยอะจึ่งทำให้การโอนถ่ายข้อมูลเร็วขึ้นด้วยครับ

 

ขนาดฮาร์ดดิส (Harddisk)

ปัจจุบันฮาร์ดดิสจะมีอยู่ 2 ขนาดด้วยกันครับ

  • ขนาด 3.5 นิ้ว จะใช้ใน Desktop
  • ขนาด 2.5 นิ้ว จะใช้ใน Notebook

harddisk

ตารางเปลี่ยนเที่ยมรายละเอียดของผู้ขายฮาร์ดดิส

ยี่ห้อ/รุ่น คุณสมบัติ ความจุ rpm buffer (MB) ประกัน
WD Blue ใช้งานใน PC ทั่วไป ทำงาน เล่นเกม 500 GB – 6 TB 5400 – 7200 32 – 64 3 ปี
WD Black ตัดต่อวิดีโอ ทำงานกราฟิก คอเกม 1 TB – 6 TB 7200 64 – 128 5 ปี
WD Red จัดเก็บข้อมูลผ่านเครือข่าย Nas 2 TB – 10 TB 5400 – 7200 64 – 128 5 ปี
WD Purple ระบบกล้องวงจรปิด 1 TB -10 TB 5400 64 3 ปี
WD Datacenter เก็บข้อมูลขนาดใหญ่ Datacenters 1 TB – 10 TB 7200 128 – 256 5 ปี
Seagate BarraCuda Pro ใช้งานใน PC ทั่วไป ทำงาน เล่นเกม 500 GB – 10 TB 7200 32 – 256 3 – 5 ปี
Seagate IronWolf จัดเก็บข้อมูลผ่านเครือข่าย Nas 1 TB – 10 TB 7200 3 ปี
Seagate SkyHawk ระบบกล้องวงจรปิด 1 TB – 10 TB 7200 64 – 256 4 ปี
Toshiba ใช้งานใน PC ทั่วไป ทำงาน เล่นเกม 1 TB – 3 TB 7200 32 3 ปี

ข้อมูลเพิ่มเติม WD , Segate และ Toshiba

สรุป

ฮาร์ดดิสจากปัจจัยหลักๆ ทั้งความจุ ความเร็ว(rmp) และบัฟเฟอร์(Buffer) และ ขนาดฮาร์ดดิส มีตัวแปรในการเลือกไม่เยอะและไม่ยากเลยครับ หลายท่านคงจะเข้าใจเกี่ยวกับเจ้าฮาร์ดดิสกันมากขึ้น และคงจะพอเลือกซื้อกันได้บ้างแล้ว สามารถไปเลือกซื้อได้ตามร้านค้าขายอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ชั้นนำหรือใกล้บ้านกันได้เลยครับ ส่วนวิธีติดตั้งนั้นแสนง่ายมากครับ ไว้จะมาสอนในบทความถัดไป หรือใครอยากรู้แล้วว่าทำอย่างไรก่อน ก็สามารถหาชมได้ตาม youtube ได้เลยครับ

ปัจจุบัน ฮาร์ดดิส ยังคงเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายครับ เพราะความเร็วที่เร็วในระดับนึ่งเลย และขนาดความจุต่อราคาที่คุ้มค่ากว่า SSD จึงยังคงเป็น Storage ที่ผู้บริโภคยังใช้กันอีกสักพักใหญ่ๆครับ ฉะนั้นเจ้าฮาร์ดดิสยังไม่ตกรุ่นเร็วๆนี้แน่นอนครับผม ส่วนใครที่อยากรู้เกี่ยวกับ SSD เพิ่มเติมสามารถเข้าไปอ่านได้ที่บทความ SSD คืออะไร แตกต่างอย่างไรกับ HARDDISK และจำเป็นต้องซื้อไหม

ถ้าใครชอบบทความของหมีคอม ช่วยกด แชร์ บทความ หรือ Like Fan Page Bearcoms เพื่อเป็นกำลังใจให้หมีคอมหน่อยนะครับ ไว้พบกันใหม่ในบทความถัดไปครับ สวัสดีครับ  ʕᵔᴥᵔʔ