ลง mac OS

ลง mac OS ง่ายๆ มือใหม่และคนไม่เคยทำก็ทำได้ที่บ้าน

สวัสดีครับวันนี้หมีคอมจะมาช่วยคุณผู้อ่านที่กำลังหาวิธี ลง mac OS ให้เข้าใจกันแบบง่ายๆ และมีภาพประกอบให้เห็นภาพชัดเจนกันขึ้นครับ จะมีตั้งแต่การเตรียมเครื่องก่อน ลง mac OS, การล้าง Harddisk หรือที่เรียกว่า fomat disk และขั้นตอนการลงครับ เรามาเริ่มดูกันเลยครับ


เตรียมเครื่อง Mac ก่อนที่จะเริ่ม ลง mac OS

USB Drive

• USB Drive

การ ลง OS mac ในครั้งนี้ หมีคอมจะใช้ USB Drive ในการลง mac OS ในครั้งนี้ครับ USB Drive แนะนำว่าความจุควรอยู่ที่ประมาณ 8 GB และความเร็วของ USB Drive หมีคอมแนะนำว่าถ้าความเร็วในการอ่านยิ่งไว การลง mac OS จะยิ่งเร็วครับ หรือจะใช่ Micro SD ก็ได้เช่นกันครับ

 


MacOS Sierra• Download OS Sierra ไฟล์

ไฟล์ตัว Install ของ OS Sierra เราสามารถไปโหลดได้ที่ App Store เลยครับ Search ว่า Sierra ก็จะเจอกับตัว Download ดังภาพด้านล่างครับ


Download macOS Sierra
สามารถกด Download มาเตรียมไว้กันก่อนเลยครับ สำหรับใครที่ไม่แน่ใจว่าเครื่อง mac ของเรา Support OS Sierra ไหม สามารถเช็คได้ที่ LINK นี้เลยครับ

 

• Back Up file

ใครมีไฟล์อะไรสำคัญและต้องการเก็บแนะนำหา External Harddisk หรือ USB Drive ที่เพียงพอต่อการ Back Up ไฟล์ต่างๆของเรามาทำการสำรองข้อมูลกันก่อนครับ เพราะการลง mac OS ในครั้งนี้เราจะทำการ Format เครื่อง mac ของเรากันครับ จะทำให้ข้อมูลในเครื่องหายไปทั้งหมด

บางท่านอาจมีปัญหาที่ว่าไม่สามารถโอนข้อมูลบน Harddisk หรือ USB Drive กับ mac ได้ มันสามารถอ่านไฟล์ได้อย่างเดียวแต่ไม่สามารถโอนไฟล็ได้ เกิดจากเครื่อง mac ไม่สามารถโอนไฟล์ผ่าน File System NTFS ของ Harddisk หรือ USB Drive ที่ทางโรงงานตั้งค่ามาสำหรับของ Windows นั้นเองครับ

ฉะนั้นเราจึงจะต้อง Format Harddisk หรือ USB Drive เพื่อให้สามารถโอนถ่ายข้อมูลกับ Mac ได้นั้นเอง และจะมีทั้งหมด 2 File Systems ที่แนะนำครับ

• Mac OS Extended (Journaled): เหมาะสำหรับคนที่ใช้แต่ระบบ mac OS อย่างเดียวและไม่ต้องการเอา Harddisk หรือ USB Drive ไปใช้กับ windows เลย จะสเถรียรกับระบบ mac OS ที่สุด
exFAT: จะเหมาะกับคนที่ต้องใช้กับ mac OS และ Windows จะสามารถโอนถ่ายข้อมูล และเปิดใช้ได้ทั้ง 2 ระบบปฎิบัติการครับ
NFFS: ในส่วนของ NFTS จะเหมาะกับคนที่เน้นใช้แต่เฉพาะระบบ Windows เท่านั้น ส่วนเครื่อง mac จะอ่านไฟล์ได้อย่างเดียว ไม่สามารถโอนถ่ายข้อมูลได้ครับ

สรุปแล้วเราจะเลือกแบบ Mac OS Extended (Journaled) หรือ exFAT ก็ขึ้นอยู่กับการใช้งานของแต่ละท่านเลยครับ


สำหรับวิธีการ Format Drive ในเครื่อง Mac และ Windows

• Mac

ให้ Search หาคำว่า Disk Utility จะปรากฎภาพตามด้านล่างครับ

  1. ให้เลือก Harddisk หรือ USB Drive ที่เราต้องการ Format
  2. กดเลือก Erase
  3. เลือกรูปแบบ Format ที่เราต้องการ และกดปุ่ม Erase ที่อยู่ข้างปุ่ม Cancel หลังจากนั้นระบบจะทำการ Format ครับ
    (อย่าลืมย้ายข้อมูลใน Harddisk หรือ USB Drive ให้เรียบร้อยก่อน Format นะครับ)

 

• Windows

เข้าไปที่ My computer >>> คลิ๊กขวา เลือก Drive ที่เป็น Harddisk หรือ USB Drive ที่เราต้องการ Format >>> และเลือก Format จะปรากฎหน้าต่างเหมือนด้านล่าง

format drive ใน Windows

ตรง File System เราเลือก Format ที่ต้องการ และกด Start ได้เลยครับ (อย่าลืมย้ายไฟล์ใน Harddisk หรือ USB Drive ก่อนทำการ Format นะครับ)


การคั้งค่า USB Drive เพื่อทำเป็นตัว Install mac OS

หลังจากที่เรา Download OS Sierra และ ​Back Up ข้อมูลเรียบร้อยแล้ว เราจะต้องมาตั้งค่า USB Drive เพื่อใช้สำหรับลง mac OS กันครับ

Step 1: Format USB Drive

ขั้นตอนการ Format นั้นจะเหมือนกับหัวข้อด้านบนครับ แต่จะเลือกประเภทการ Format ต่างกันเล็กน้อยครับ สามารถเลือกตามภาพตัวอย่างด้านล่างเลยครับ

Format USB Drive ใน mac

สามารถตั้งค่าตามตัวอย่างภาพเลยครับ หลังจากนั้นกด Erase

 

Step 2: ใส่ชุดคำสั่งใน Terminal

เริ่มจาก search หา Terminal แล้วเปิดขึ้นมาครับ จะปรากฎภาพเหมือนภาพด้านล่างครับ

Terminal

หลังจากนั้น Copy Code ด้านล่างไปใส่ครับ

sudo /Applications/Install\ macOS\ Sierra.app/Contents/Resources/createinstallmedia –volume /Volumes/OSXInstaller –applicationpath /Applications/Install\ macOS\ Sierra.app

พอใส่เข้าไปแล้ว เครื่องจะถาม Password เครื่องของเรา เราก็ใส่แล้วกด Enter ตัว Terminal ก็จะเริ่มลงตัว OS Sierra บน USB Drive ของเราครับ

(ถ้าเครื่องใครไม่ได้ตั้ง Password เครื่องไว้ แนะนำให้ไปตั้งค่าก่อนทำขั้นตอนนี้นะครับ ไม่นั้นจะไม่สามารถทำขั้นตอนนี้ได้ครับ)

รอประมานรอเวลาสักพักครับ ช่วงนี้ก็ไปหาอะไรอย่างอื่นทำพลางๆไปก่อน ความเร็วในการลงขึ้นอยู่กับความเร็วในการถ่ายโอนของตัว USB Drive ด้วยครับ

 

Step 3: เริ่มลง OS Sierra

พอทุกอย่างเตรียมพร้อมแล้วก็กด Restart กันได้เลยครับ แต่ถ้าใครจะทำการอัพเกรด SSD ลงเครื่อง mac ให้ทำขั้นตอนในบทความ อัพเกรด macbook pro จาก Harddisk เป็น SSD ให้เร็วยิ่งขึ้น ก่อนเริ่มลง OS Sierra ครับ แต่ถ้าใครไม่ได้ต้องการอัพเกรดเครื่องก็เริ่ม Restart กันเลยครับ

ระหว่างที่เครื่องกำลังจะเปิด ให้กด Key option ค้างไว้กันด้วยนะครับ จะปรากฎภาพตามด้านล่างครับ

(หลังจากนี้จะใช้กล้องถ่าย ภาพจะเบลอหน่อยนะครับ) สงสัยว่าทำไมเอากล่องมือถือถ่ายจึงเป็นคลื่น สามารถศึกษา
จากบทความ FLICKER FREE คืออะไร ดีอย่างไร ทำไมจึงควรใช้ และวิธีการเลือกดูและการซื้อจอ กันดูครับ

ลง mac OS

ให้เลือกที่ Install MacOS Sierra โดยใช้ลูกศรบน Keyboard ในการเลื่อนไปมาครับ แล้วกด Enter

จะปรากฎหน้านี้ขึ้นมาตอนนี้เราจะสามารถใช้ Mouse ได้แล้วแล้ว ให้เลือกที่ Disk Utility เพื่อทำการ Format หรือลบข้อมูลเก่าใน Harddisk ของเราก่อน

ลง mac OS

สำหรับคนที่ ไม่ได้ อัพเกรดเครื่องเป็น SSD

ในภาพของเครื่องผู้อ่านจะปรากฎแค่ หมายเลข 2 เท่านั้น ให้เลือกและกด Erase แล้วตั้งค่า

 Name: Macintosh HD
Format: Mac OS Extended (Journaled)
Scheme: GUID Partition map

แล้วกด Erase หลังจากนั้นกด ปิด หน้าจอ Disk Utility แล้วไปทำการลง OS ต่อเลยครับ

สำหรับคนที่ติดตั้ง SSD ในเครื่อง mac

ในภาพของเครื่องผู้อ่านจะปรากฎแค่ หมายเลข 1 และ 2 ใน หมายเลข 1 นั้นคือ SSD ให้กด Erase และตั้งค่าตามด้านล่าง

Name: Macintosh HD
Format: Mac OS Extended (Journaled)
Scheme: GUID Partition map

ในส่วนของ หมายเลข 2 นั้นคือ Harddisk ตัวเก่าของเราที่ถูกย้ายไปใส่แทน DVD Drive ให้กด Erase และตั้งค่าตามด้านล่าง

Name: Back Up หรือจะตั้งเป็นชื่ออื่นๆก็ได้เช่นกัน
Format: Mac OS Extended (Journaled)
Scheme: GUID Partition map

หลังจาก Format เสร็จแล้วก็ไปทำการลง OS Sierra กันต่อเลยครับ (หมายเลข 3 และ Drive อื่นที่จะมีปรากฏขึ้นมาด้วย ไม่ต้องไปทำการยุ่งกับ Drive เหล่านั้นครับ)

ลง mac OS

หลังจาก Format เรียบร้อยแล้ว เราก็จะมาลง OS Sierra กันต่อโดยคลิ๊กเลือก Install macOS ครับ หลังจากนั้นระบบก็จะถาม Term of Service เราก็กด Agree ต่อไปก็จะเจอกับการเลือก Harddisk ที่ไว้ให้เราเลือกลง OS ตามภาพด้านล่างครับ

ลง mac OS

ในส่วนนี้เราก็ทำการเลือกลงที่ Macintosh HD แล้วกด Install ต่อไปเลยครับ หลังจากนี้ไปไม่ยากแล้วครับเป็นการถาม setting ของเครื่องทั่วไป ลองทำกันดูได้เลยครับ


สรุป

หลังจากลงกันเสร็จแล้ว ท่านผู้อ่านทุกท่านก็จะเหมือนได้เครื่อง mac ใหม่ ความอืดที่มีจะหายไป และยิ่งใครอัพเกรดเป็น SSD ด้วยแล้วยิ่งฟินแน่นอนครับ หมีคอมรู้สึกดีใจมากหลังจากเปลี่ยนเป็น SSD แล้ว การเปิดเครื่องหรือโปรแกรมไวกว่าเดิมจนเห็นได้ชัด ใครอยากให้เครื่อง mac ไวขึ้นและอยากรู้วิธีอัพเกรดเครื่อง mac ราคาในการอัพเกรดไม่แพงเลยครับ ลองศึกษาวิธีการอัพเกรด mac ด้วยตนเองได้ที่ อัพเกรด macbook pro จาก Harddisk เป็น SSD ให้เร็วยิ่งขึ้น เลยครับ หวังว่าบทความ ลง mac OS นี้จะเป็นประโยชน์ต่อทุกท่านครับ ถ้าใครชอบบทความของหมีคอม ช่วยกด แชร์ บทความ หรือ Like Fan Page Bearcoms เพื่อเป็นกำลังใจให้หมีคอมหน่อยนะครับ วันนี้ขอตัวลาไปก่อน ไว้พบกันใหม่ในบทความต่อไป สวัสดีครับ ʕᵔᴥᵔʔ