การระบายความร้อน และความเย็น ที่คุณสามารถสัมผัสได้


การระบายความร้อน เป็นสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้เลยในเครื่องคอมพิวเตอร์ ทั้งเรื่องของการละความร้อนในเครื่อง และเป็นการถนอม ฮาร์ดแวร์ในเครื่องไปในตัวด้วย ถ้าเราจัดการกับการระบายความร้อนได้ดี

หมีคอมจะมาอธิบายเกี่ยวกับเจ้าพัดลมเคสและระบบการระบายความร้อนในเครื่องกันครับ ถ้าปราศจากการระบายความร้อนที่ดี อาจมีโอกาสทำให้เครื่องคอมของเราต้องทำงานหนักและอุปกรณ์ต่างๆก็อาจจะเสื่อมสภาพเร็วขึ้นครับ ในทางตรงกันข้าม ถ้าอุณหภูมิในเครื่องมีความร้อนน้อยก็จะทำให้คอมพิวเตอร์ของเรามีประสิทธิภาพในการทำงานที่ดีขึ้นด้วยเช่นกันครับ

การระบายความร้อน ในเครื่องคอม

การระบายความร้อน

http://www.thermaltake.com/Chassis/Mid_Tower_/Suppressor/C_00002677/Suppressor_F51_Window/design.htm

จากภาพตัวอย่างด้านบนครับ จะเป็นความร้อนของเครื่องเมื่อมีการทำงานครับ เขาได้เปรียบเทียบให้ดูระหว่างการนำแผ่นปิดเสียงเพื่อกันสียงรบกวนจากเครื่องในภาพแรก และการนำแผ่นปิดเสียงออกในภาพที่สอง เราจะเห็นได้ว่า เมื่อนำแผ่นปิดเสียงออก อุณหภูมิในเครื่องจะเย็นขึ้น เกิดจากมีการระบายความร้อนในเครื่องโดยมีลมไหล่ผ่านและหมุนเวียนเข้าออกที่ดีขึ้นนั้นเองครับ

 

รูปแบบการวางพัดลมในเคส

คร่าวนี้เราจะมาดูกันครับว่าถ้าเรากำลังจะเลือกซื้อเคสคอมมาใช้งาน เราควรจะจัดการกับระบบระบายความร้อนในเครื่องเราอย่างไรได้บ้าง

การระบายความร้อน

ภาพแรกจะเป็นเคสแบบ Mid-Tower ที่ผู้ใช้ส่วนใหญ่จะเลือกใช้กัน เราจะมาดูการระบายความร้อนที่ดีกันครับ เริ่มจากพัดลมหน้าเคสเพื่อนำลมเย็นเข้าสู่เครื่องคอมครับ หลังเคสหนึ่งตัวและด้านบนหนึ่งถึงสองตัวเพื่อระบายความร้อนขาออกครับ แบบนี้จะทำให้เครื่องของเราถ่ายเทความร้อนได้เป็นอย่างดีครับ

 

เพื่อให้เห็นภาพมากขึ้น หมีคอมจะมีริ้งค์วีดีโอด้านล่างมาให้ดูเพื่อให้เห็นภาพกันมากขึ้นครับ

การระบายความร้อน ของเคสขนาดเล็กอย่าง Mini-itx Case ครับ ว่าถ้าเป็นเครื่องเล็กๆจะระบายความร้อนกันอย่างไรบ้าง

การระบายความร้อน

http://community.thermaltake.com/index.php?/calendar/event/31-thermaltake-the-new-core-v1-mini-chassis/

จากภาพที่เห็น จะใช้หลักการคล้ายๆเคส Mid-Tower ในภาพแรกเลยครับ คือนำลมเย็นจากด้านหน้าผ่านเข้าไปเพื่อนำความร้อนจากในเครื่อง และนำออกไปทางด้านหลังดั่งตัวอย่างในภาพครับ


หมีคอมจะมานำคลิปวีดีโอตัวอย่างมาให้ดูเพิ่มเติมว่า เราควรติดจำนวนพัดลมเยอะแค่ไหน ถึงจะดีที่สุดสำหรับคอมของเรา จากในคลิปวีดีโอด้านล่างจะเป็นแบบ  Mid-Tower ครับ (จะเป็นภาษาอังกฤษ เข้าใจไม่ยากครับ)

ทาง LinusTechTips เขาได้ทดลองในการติดพัดลมในหลายๆรูปแบบดังนี้ครับ

แบบที่ 1) T4 Only (Hyper T4 CPU Cooler) มีเฉพาะพัดลม CPU

CPU องศา 71 GPU 92 องศา


แบบที่ 2) T4 + 1 พัดลมด้านหลัง

CPU 64 องศา GPU 85 องศา


แบบที่ 3) T4 + 1 พัดลมด้านหน้า

CPU 67 องศา GPU 80 องศา


แบบที่ 4) T4 + 1 พัดลมด้านบน

CPU 65 องศา GPU 83 องศา


แบบที่ 5) T4 + 1 พัดลมด้านหน้า + 1 พัดลมด้านหลัง

CPU 60 องศา GPU 79 องศา


แบบที่ 6) T4 + 2 พัดลมด้านหน้า + 1 พัดลมด้านหลัง

CPU 58 องศา GPU 77 องศา


แบบที่ 7) T4 + 2 พัดลมด้านหน้า + 1 พัดลมด้านหลัง + 1 พัดลมด้านบน

CPU 55 องศา GPU 76 องศา


แบบที่ 8) T4 + 2 พัดลมด้านหน้า + 1 พัดลมด้านหลัง + 2 พัดลมด้านบน

CPU 55 องศา GPU 76 องศา


*Hyper T4 CPU Cooler =พัดลมระบายความร้อนของ CPU

*GPU = การ์ดจอ

 

สรุปคลิปวีดีโอจากด้านบน

จากที่เห็น แบบที่ 7) T4 + 2 พัดลมด่านหน้า + 1 พัดลมด่านหลัง + 1 พัดลมด่านบน

อุณหภูมิจะอยู่ที่ CPU 55 องศา และ GPU 76 องศา ถือว่าต่ำที่สุดแล้ว ต่อให้ติดพัดลมเพิ่มอีก 1 ตัวด้านบนก็ยังได้อุณหภูมิเท่าเดิม เว้นแต่ถ้าอยากติดเพิ่มเพื่อความสวยงาม ก็จัดไปครับ

พัดลมเคส

 

การเลือกดูสเปคของเคสเพื่อติดตั้งพัดลม

เราจะมาดูการเลือกพัดลมกันครับ ว่าเราความเอาขนาดเท่าไหร่ รอบหมุนมากน้อยแค่ไหนจึงจะเหมาะ

มาเริ่มกันที่ขนาดกันก่อนครับ ปกติเคสมาตรฐานสมัยนี้จะใช้พัดลมกันอยู่ 2 ขนาดครับคือ 120mm และ 140 mm ส่วนขนาด 80 mm, 92 mm และ 200 mm อาจจะมีเป็นบางเคสครับ แต่เพื่อความแน่นอนว่าเราควรซื้อขนาดไหน วิธีการดูเพียงแค่นำรุ่นเคสที่เราสนใจ ไปค้นหาใน Google และเข้าไปดูในเว็บของผู้ผลิต เขาจะบอกสเปค อย่างละเอียดมาเลยครับว่าเคสต้องนี้ ใช้พัดลมขนาดเท่าไหร่ในตำแหน่งใดบ้าง ตัวอย่างตามด้านล่างครับ

ตารางบอกขนาดพัดลมที่ใช้ได้

จากช่องสีแดง ทางผู้ผลิตก็จะบอกว่า

  • พัดลมด่านหน้า 2 ตำแหน่ง ขนาด 120 mm
  • ด่านบน 2 ตำแหน่ง ขนาด 120 mm
  • ด่านล่าง 1 ตำแหน่ง ขนาด 120 mm

 

RPM(Rounds per minute)

พอเราได้ขนาดของพัดลมกันแล้ว เราก็จะมาดูกันครับว่าเราจะมาซื้อพัดลมรอบเท่าไหร่และแบบไหนดี

การหมุนของรอบพัดลมเราจะเรียกว่า RPM(Rounds per minute) ครับ ถ้าแปลเป็นไทยก็กี่รอบต่อนาที ยิ่งรอบสูงก็จะยิ่งเย็นแต่เสียงก็จะยิ่งดังตามครับ อารมณ์เหมือนกับเปิดพัดลมบ้านเบอร์ 3 นั้นเองครับ

สำหรับคนที่ไม่ได้เน้นเอาคอมไป over clock ก็ไม่จำเป็นต้องเอารอบพัดลมสูงมากครับ สัก 1200 RPM ก็พอแล้วครับ และถ้าเราต่อพัดลมลงบนเมนบอร์ดโดยตรง ระบบจะปรับรอบพัดลมตามอุณหภูมิภายในเครื่องคอมครับ ฉะนั้นมันจะไม่วิ่งเต็มรอบ 1200 RPM ตลอดเวลาแน่นอนครับ เว้นแต่เราไม่มีช่องเสียบและต้องนำไปต่อตรงกับ Power supply มันจะหมุนเต็มรอบที่ 1200 RPM ครับผม

 

หัวต่อพัดลมคอม ใบแบบต่างๆ

หัวต่อพัดลมคอม

หัวต่อพัดผลจะมีอยู่ 3 แบบครับ

  • 3 PIN สมัยนี้จะไม่ค่อยมีแล้วครับ ตอนนี้จะเป็นแบบ 4 PIN เกือบหมดแล้ว ถ้านำไปต่อกับ Mainboard รุ่นใหม่ๆที่ใช้ช่อง 4 PIN ก็สามารถต่อได้ครับ พัดลมหมุนแต่อาจปรับรอบพัดลมตามความร้อนของเครื่องไม่ได้ครับ
  • 4 PIN จะเป็นแบบล่าสุดต่อลง Mainboard รุ่นใหม่ๆสมัยนี้ครับ
  • MOLEX  จะต่อกับ PSU โดยตรงครับ จะไม่สามารถปรับรอบได้ หมุนที่ความเร็วสูงสุด ฉะนั้นจะเสียงค่อนข้างดังหน่อย เพราะมันหมุนรอบสูงตลอดเวลานั้นเองครับ

 

ตัวอย่างการดูช่องเสียบพัดลมบนเมนบอร์ด

ตำแหน่งตัวต่อไฟพัดลม

จากวงกลมสีแดงตามภาพด้านบน คือช่องเสียบพัดลมเคสครับ ในคู่มือเมนบอร์ดจะมีบอกครับว่าพัดลมจะต้องเสียบช่องไหน สามารถนำรุ่นเมนบอร์ดที่เราสนใจไปค้นหาในเว็บผู้ผลิต จะอยู่ในหมวดของ Support (สนับสนุน) >> Manual (คู่มือ)

ส่วนใครที่ช่องต่อพัดลมบน Mainboard เต็มแล้ว ก็มี 2 ทางเลือกคือ

  1. ต่อสายพัดลมกับสายไปของ Power Supply (PSU) โดยตรง ถ้าเป็นพัดลมราคาถูกบางรุ่นจะเป็นหัว MOLEX มาเลย แบบนี้ก็ต่อตรง PSU ได้เลย ส่วนที่เป็นแบบหัว 4 PIN อาจตรงไปหาซื้อสายแปลงมาเพิ่ม สำหรับข้อเสียถ้าต่อแบบนี้คือ พัดลมจะวิ่งเต็มรอบตลอดเวลา เสียงอาจค่อนขางดัง สำหรับคนที่ไม่ค่อยชอบเสียงอะไรมารบกวน
  2. หาซื้อ Fan Hub มาใส่เพิ่ม ฉะนั้นแล้วพัดลมตัวที่ต่อผ่าน Fan Hub ก็จะปรับรอบพัดลมตามความร้อนของเครื่องได้ ไม่วิ่งที่ความเร็วสูงสุดตลอดเวลา

 

แผ่นกรองฝุ่น

แผ่นกรองฝุ่น

สิ่งสุดท้ายที่จะพูดถึงในบทความนี้ก็คือ แผ่นกรองฝุ่น เพราะฝุ่นนั้นจะทำให้เครื่องคอมเราสกปรกไม่พอ ยังทำให้เครื่องของเรามีความร้อนที่สูงขึ้น และการทำงานของเครื่องก็จะมีประสิทธิภาพที่ลดลงเช่นกันครับ ฉะนั้นแล้วก่อนเลือกซื้อเคสแนะนำว่า ควรดูเคสที่เราสนใจจะซื้อนั้นมีตัวกรองฝุ่นติดมากับเคสด้วยไหม โดยเฉพาะลมขาเข้าเครื่องครับ ถ้าไม่มีจริงๆเราก็สามารถซื้อแผ่นตัวกรองมาติดเพิ่ม หรืออาจซื้อตาข่ายที่ช่องเล็กๆมาตัดและติดตั้งเองก็ได้เช่นกันครับ

 

สรุป

สุดท้ายต่อให้การระบบระบายความร้อนเราดีแค่ไหน ก็อย่าลืมนำเครื่องคอมของเรามาทำความสะอาดกันบ่อยๆนะครับ ไม่นั้นเปิดมาอาจเจอฝุ่นกองใหญ่ในเครื่องเราก็เป็นได้ แถมอาจเจอเหล่าแมลงมาทำรังด้วยเช่นกันครับ ถ้าใครชอบบทความของหมีคอม ช่วยกด แชร์ บทความ หรือ Like Fan Page Bearcoms เพื่อเป็นกำลังใจให้หมีคอมหน่อยนะครับ สำหรับวันนี้หมีคอมขอลาไปก่อน ไว้พบกันใหม่ในบทความต่อไป สำหรับวันนี้สวัสดีครับ ʕᵔᴥᵔʔ