วิธีการดูสเปคคอม เบื้องต้นแบบง่ายๆ และวิธีใช้งานผ่านโปรแกรม CPU-Z
สวัสดีครับคุณผู้อ่านทุกท่าน วันนี้หมีคอมจะมาบอกเล่าถึง วิธีการดูสเปคคอม หลายท่านต้องการรู้ว่าคอมของเราเล่นกับเกมหรือโปรแกรมที่เราสนใจได้หรือไม่ หรืออาจไว้สำหรับดูสเปคอย่างละเอียดเพื่ออัพเกรดอุปกรณ์ในอนาคต หมีคอมจะมาอธิบายทั้งแบบเปิดดูในเครื่องเพื่อเช็คข้อมูลคร่าวๆได้เลย และแบบอย่างระเอียดโดยที่ต้องลงโปรแกรม CPU-Z ก่อนครับ มาเริ่มดูกันครับ
วิธีการดูสเปคคอม แบบเบื้องต้นแบบง่ายๆ
แบบที่ 1 ดูสเปค คอมแบบคร่าวๆ
หลายคนอาจพอรู้วิธีนี้อยู่แล้ว แต่หมีคอมขออธิบายเพื่อไว้สำหรับคนยังไม่ทราบก่อนนะครับ
เริ่มจากคลิ๊กขวาที่ My computer หรือ This PC >>> และเลือก Properties จะปรากฎหน้าต่างดังภาพข้างล่างครับ
จากภาพ สิ่งที่เราจะรู้คร่าวๆก็จะมี
- CPU: เราจะรู้รุ่นและความเร็วของ cpu ในที่นี้จะเป็นรุ่น i7 ความเร็ว 2.40 GHz ครับ
- RAM: แรมของเครื่องหมีคอมอยูที่ 12 GB หมีคอมใช้แรม 4 GB + 8 GB ครับ
- System type: ตรงส่วนนี้จะมีแค่ 2 แบบ คือ 32 bit และ 64 bit ครับ ถ้าเรารู้ข้อมูลตรงส่วนนี้ ตอนลงโปรแกรมเราจะได้เลือกลงโปรแกรมให้เข้ากับเครื่องของเราได้ครับ เช่นเครื่องเรา 64 bit เราก็ต้องเลือกลงโปรแกรม 64 bit เป็นต้นครับ
- Windows edition: ทำให้รู้ว่า Windows version คือตัวไหนครับ ในที่นี้คือ Windows 10 ครับ
แบบที่ 2 ดูสเปคแบบละเอียดขึ้นมาหน่อย โดยผ่าน RUN
เริ่มจากเปิด Run โดยกดคีย์ลัด ปุ่ม Windows + R ตามดังรูปด้านล่าง
พอประกฎหน้าต่างขึ้นมาแล้วให้พิมพ์ DxDiag ลงไปและกด OK ครับ
มาดูสเปคคร่าวๆในหน้าแรกในส่วนของ System กันครับ
- Operating System: ในที่นี้คือ Windows 10 Home edition ครับ
- System Manufacturer: ตรงนี้จะทำให้เรารู้แบรนด์ของเมนบอร์ดครับ ในที่นี้เป็นของ Gigabyte ครับ
- Processor : บอกรุ่นและความเร็ว CPU ครับ
- Memory: บอกความจุแรม ในที่นี้จะบอกเป็น MB เอา 1000 หารจะได้เป็น GB ครับ ในที่นี้คือ 16 GB นั้นเอง
- DirectX Version: ไว้สำหรับดูรุ่นของ DirectX ครับว่าสามารถเล่นกับเกมที่เรากำลังจะลงได้ไหม สมมุติถ้าเกิดเกมต้องการ DirectX 13 เราจะได้ไปหาโหลดตัวใหม่มาลง เพื่อที่จะสามารถเล่นเกมนั้นๆได้ครับ
มาดูสเปครูปที่ 2 กับ Display ครับ
- Device: จะบอกถึงรายละเอีบดการ์ดจอของเราครับ ว่ารุ่นอะไร สเปคมีอะไรบ้าง
- Name: รุ่นการ์ดจอ
- Manufaturer: การ์ดจอของแบรนด์ไหน
- Display memory (VRAM): ขนาดแรมของการ์ดจอ
วิธีการดูความจุ Harddisk ในคอม
สามารถดูได้ง่ายๆเลยครับ เข้าไปที่ My com หรือ This PC
เราก็จะเจอกับ Drive ต่างๆครับ จากภาพเราจะเห็นขนาดความจุของอาร์ดีสทั้ง Drive C: และ D: บางคนอาจมี drive เดียวหรือมากว่านี้ก็ไม่ต้องแปลกใจไปครับ เพราะมันสามารถกำหนดจำนวน drive หรือเรียกกันว่า Partition ได้ตอนลง Windows ครับ
ส่วนของใครที่ไม่เห็นตัวเลขขึ้นแบบในภาพ สามารถกด คลิ๊กขวา ที่พื้นที่สีขาวว่างๆ เลือก View >>> Tiles หรือ Details ก็จะปรากฎความจุขึ้นมาเหมือนในภาพครับ
หรือจะ คลิ๊กขวา ที่ Drive C: หรือ D: แล้วเลือก Properties ก็จะปรากฎภาพแบบด้านล่างขึ้นมาครับ
- Used space: พื้นที่ที่เราได้ใช้ไป
- Free seace: พื้นที่ที่เหลือให้ใช้ได้
- Capacity: พื้นที่ของไดร์ทั้งหมด
คร่าวนี้เราก็นำความจุของ Drive C: และ D: มารวมกันครับ โดยนำมาจากค่า Capacity ครับ
นำ 96.7 GB + 833 GB ≈ 929.7 GB แสดงว่า Harddisk ของเรามีขนาด 1,000 GB หรือเท่ากับ 1 TB นั้นเองครับ
หลายคนคงสงสัย แล้วที่เรารวมกันมันไม่ถึง 1,000 GB แล้วที่เหลือนั้นหายไปไหน? หมีคอมแนะนำให้ไปอ่านเพิ่มเติมได้ที่ HARDDISK (ฮาร์ดดิส) คืออะไร เรามาทำความรู้จักและวิธีการเลือกซื้อกัน ตรงในส่วนของหัวข้อ ความจุ Harddisk ครับ
วิธีลงโปรแกรมและดูผ่าน CPU-Z
ดาวโหลและลงโปรแกม CPU-Z
สามารถดาวโลหดได้ที่ LINK นี้เลยครับ พอเข้าไปแล้วเลื่อนลงมาจะอยู่ด้านซ้ายล่างครับ
สามารถกด Download อันแรกสุดได้เลยครับ แต่ถ้าใครยังใช้ windows 98 อยู่ทางเว็บก็มีให้โหลดอยู่ล่างสุดเช่นกันครับ :3
หลังจากโหลดมาแล้วก็กดลงได้เลยครับ ไม่ยากแน่นอนลองลงกันดูครับ 😀
การดูสเปคคอมพิวเตอร์โดยโปรแกรม CPU-Z
เริ่มจากเปิดโปรแกรมกันขึ้นมาเลยครับ จะเจอกับหน้าโปรแกรมเหมือนด้านล่างนี้ครับ
มาดูรายละเอียดรูปแรกกันครับ กับ CPU
- Processor
- Name: แบรนด์และรุ่น CPU ที่มี U อยู่ข้างหลังเพราะเป็นรุ่นของ Notebook ครับ
- Code Name: สถาปัตยกรรมของ CPU
- Package: คือ Socket ที่ CPU เราใช่อยู่ครับ ยกตัวอย่าง คอม Desktop Socket 1151 ใช้กับ CPU ตละกูล i Gen 7 หรือจะเป็นของทาง CPU AMD Ryzen ใช้กับ Socket AM4 เป็นต้นครับ
- Specification: ความเร็วของ CPU
- Clock
- Core Speed: ถ้าเห็นวิ่งขึ้นลง เกิดจากการทำงานของ CPU ครับ ถ้าเป็นรุ่นเก่าๆจะไม่มีฟังก์ชั่นประหยัดพลังงานมันจะวิ่งเต็ม Speed แต่สมัยนี้ CPU มีระบบประหยัดพลังงาน ทำให้เวลาเราใช้คอม เช่น เปิดเน็ตหรือทำงานมันก็จะวิ่งในความเร็วต่ำนั้นเองครับ แต่ถ้าเราเล่นเกมที่กินสเปคสูงมันจะวิ่ง เท่ากับ Specification ของ CPU หรือวิ่งเกินค่า Specification เพราะเกิดจากฟังก์ชั่นของ Tubo Boost นั้นเองครับ
- Selection
- Core/Threads: บอกถึงจำนวนแกนหลักและแกนจำลองของ CPU ครับ
มาต่อกันที่หน้า 2 กับ Motherboard
- Motherboard
- Manufacturer: แบรนด์ของผู้ผลิตครับ ของหมีคอมเป็น notebook จึงขึ้นเป็นแบรนด์ของ notebook ครับผม
- Model: คือรุ่นของบอร์ดที่เราใช้อยู่ครับ และสามารถนำชื่อรุ่นไปหาโหลดไดร์เวอร์มาอัพเดทกันได้ครับ
ในส่วนของ Memory
- Memmory
- Type: ประเภทของแรมครับ ในช่วงเวลานี้ จะมีทั้ง DDR3 และ DDR4 ครับ
- Channel #: คือจำนวนแรมที่เราใส่เข้าไปครับ ในที่นี้จะเป็น 2 ตัวจึงขึ้นเป็น Dual ครับ
- Size: คือขนาดของแรมที่มีอยู่ในเครื่องครับ
- Timings
- DRAM Frequency: ความเร็วของแรมที่ทำงานอยู่ ณ ปัจจุบันครับ
มาดูในส่วน SPD ใน Slot #1 กันครับ
- Module Size: ขนาดของแรม
- Max Bandwidth
- ตัวนี้เราจะเอามาหาค่า BUS Ram ได้ครับ โดยการนำเอาเลขในวงเล็บ 800 MHz คุณ 2 เท่ากับ Bus 1600 เท่านี้เราก็ได้ Bus Ram ตัวนี้แล้วครับ ในกรณีที่ต้องการซื้อเพิ่มอีก 1 ตัวเราจะได้ซื้อ Bus Ram ที่เท่ากันครับ
- ในส่วนขนาดของ Module Size ถ้าต้องการซื้อมาใส่อีก 1 ตัว ควรจะมีขนาดที่เท่ากันครับ เช่น 4 GB กับ 4 GB เป็นต้น จะได้ประสิทธิภาพสูงสุด ยิ่งเป็นรุ่นและแบรนด์เดียวกันยิ่งดีครับ ส่วนถ้าหาไม่ได้จริงๆก็สามารถใช้คนละรุ่นและแบรนด์กันได้ครับ และถ้าทั้งสองตัวขนาดไม่เท่ากันได้ไหม เช่น 4GB กับ 8GB ขนาดไม่เท่ากันก็สามารถใช้ร่วมกันได้เช่นกันครับ
- Manufacturer: แบรด์ผู้ผลิต
- Ranks: อยู่ใน slot ที่ 1
SPD ใน Slot #2 ครับ หมีคอมนำ Slot #2 มาใส่ให้เห็นกันว่า แรมคนละแบรนด์และขนาดความจุ ก็สามารถนำมาใช้ร่วมกันได้ครับ แต่แนะนำว่า BUS Ram ควรจะต้องเท่ากันครับ
Graphics
- Display Device Selection: บอกถึงรุ่นการ์ดจอที่เราใช้ครับ ในที่นี้มี M ต่อท้ายจะเป็นการ์ดจอของ Notebook ครับ.
แถมเล็กน้อยกับ Bench
เป็นส่วนไว้วัดเปรียบเทียบ CPU ของเรากับตัวอื่นๆว่าคะแนนของ CPU Single Thread กับ CPU Mult Thread นั้นต่างกันแค่ไหน Reference หมีคอมลองเอา i7-6950x มาเทียบให้ดูเล่นๆกันกันครับ ดูคะแนนความต่างนั้นคนละฟ้ากับดิน ไม่ต้องแปลกใจไปครับเพราะ ตัวนี้ 10 core / 20 thread ส่วนคอม Notebook หมีคอมแค่ 2 core / 4 thread เท่านั้น
สรุป
ตอนนี้หลายคนที่อ่านบทความนี้จบก็น่าจะพอรู้ วิธีการดูสเปคคอม ทั้งแบบคร่าวๆและแบบละเอียดกันแล้วครับ ส่วนใครที่อ่านจบแล้วยังไม่ได้ลองไปเล่นกันดู ลองไปทำกันดูครับ เพื่ออนาคตอาจต้องอัพเกรดคอมหรือเปลี่ยนอุปกรณ์ใหม่จะได้สามารถเลือกซื้อได้อย่างถูกต้องและตรงใจที่สุดครับ ถ้าใครชอบบทความของหมีคอม ช่วยกด แชร์ บทความ หรือ Like Fan Page Bearcoms เพื่อเป็นกำลังใจให้หมีคอมหน่อยนะครับ ส่วนวันนี้ขอลาไปก่อนแล้วพบกันใหม่ในบทความถัดไป ส่วนวันนี้สวัสดีครับ ʕᵔᴥᵔʔ